วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560


ภารกิจ  แต่งเพลงจากวรรณกรรมท้องถิ่น
เรื่อง ท้าวยี่บาเจือง




เนื้อเพลง ชีวิตเพื่อฆ่า  หัวใจเพื่อเธอ (บาเจือง)
ทำนอง   พระรามอกหัก

จะกล่าวถึงท้าวยี่บาเจือง   ตำนานลือเลื่องนักรบผู้เกรียงไกร
ผู้พิชิตศัตรูมากมาย   ขาดแต่เรื่องหัวใจที่ยังไม่ชำนาญ
ตามตำนานกล่าวขานกันมา   ปางก่อนนั้นหนานามท่านว่าท้าวยี่
พระยาแถนชื่นชมยินดี  ให้ตัวข้านี้ลงมาจุติเมืองคน
เกิดชาตินี้ได้นามว่าบาเจือง  ผู้ครองเมืองนาคองผู้ยิ่งใหญ่
ยังไม่มีมเหสีครองใจ  จึงยกพลไปขอนางง้อมเมืองเชียงเคือ
*โชคชะตาเล่นกล  พี่ต้องทนจากน้องไปไกล  
เมืองเงินยางถูกพวกแกวล้อมไว้    พี่ต้องรีบไปช่วยพวกเขานะเธอ
**บอกเจ้าไว้เลย น้องยาเอ่ยทั้งน้ำตา ก่อนที่พี่จะจากลา ให้รีบกลับมาไวไว
ออกรบครั้งนี้ให้พี่จงพ้นภยันตราย  น้องสะอื้นไห้พร้อมคำร่ำลา
ยกทัพไปรบกับท้าวกว่า ชีวิตนี้ข้าไม่เคยกลัวความตาย 
กษัตริย์เมืองแกว เจืองจะเอาดาบฟันคอขาดหาย    ข้าศึกจนใจแพ้พ่ายทุกทิศทาง
***พี่แสนดีใจ รีบกลับไปหาน้องแก้วตา  กลับไปเชยเจ้ากัลยา  
แม่ง้อมของข้าห่วงหาสุดดวงใจ     (ซ้ำ  *,**,***)

โอ้ว่าที่รักของข้า   คิดถึงสุดหัวใจ
โอ้ว่าแม่ภรรยา      ข้ารักเจ้ากว่าใคร

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องท้าวยี่บาเจือง

ภารกิจพิเศษ

                  

                                                บทที่๑                                                

สรุปการวิเคราะห์วรรรณกรรม 

เรื่องท้าวยี่บาเจือง


ในดินแดนชมพูทวีป มีเมืองใหญ่ชื่อเมืองนาคอง เจ้าผู้ครองนครพระนามว่าพระยาจอม  เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไม่มีสิ่งใดขาดตกบกพร่องและประชาราษฎรมีความสุขเหมือนอยู่บนทิพยวิมาน แต่พระยาจอมยังขาดอยู่สิ่งหนึ่งนั่นก็คือพระโอรสไว้สืบสันตติวงศ์  จึงได้จัดพิธีบวงสรวงผีประจำเมือง คือ ย่าง่าม ให้จัดเอาขาควายสดๆไว้ในสำรับ ย่าง่ามได้แปลงตัวเป็นคนมากินเครื่องบวงสรวง พระยาจอมจึงขอให้ย่าง่ามนำขาควายอีกข้าง ขึ้นไปถวายพระยาแถน แล้วขอบุตรมาเกิดในครรภ์พระมเหสี ย่าง่ามจึงนำไปถวายตามความประสงค์   พระยาแถนชื่นชมยินดีมากจึงประทานให้ตามความประสงค์  พระยาแถนจึงนำขาควายมาเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า กุมารองค์ใดมีบุญมากจะได้เกิดในเมืองมนุษย์ เมื่อเห็นขาควายนี้ขอให้ฉีกกินได้ตามใจ เมื่อท้าวยี่มาเห็นขาควายก็นึกใคร่อยากจะกิน จึงสั่งให้อำมาตย์ปรุงเนื้อมาถวาย  พระยาแถนจึงได้บอกให้ท้าวยี่ทราบและยินดีไปเกิดที่เมืองมนุษย์
เมื่อท้าวยี่มาเกิดที่เมืองมนุษย์จึงได้นามว่า ท้าวเจือง เมื่อพระยาจอมสวรรคตท้าวเจืองได้เสวยราชย์แทนพระราชบิดา และได้ขอนางง้อมมาเป็นพระมเหสี   ต่อมาเมืองเงินยางได้ถูกกองทัพของพวกแกวล้อมเมือง ท้าวเจืองจึงได้ไปช่วยรบกับท้าวกว่าจนได้รับชนะและได้นางอั้วค่าบุตรสาวของเจ้าเมืองเงินยางมาเป็นมเหสี พระมเหสีของท้าวกว่าทราบว่าสามีของตนตายแล้วจึงอยากแก้แค้นแทนสามี จึงยกทัพไปรบกับพระยาเจือง และมเหสีท้าวกว่าถูกดาบฟันสิ้นใจตาย ณ ที่นั้น พระยาเจืองได้จัดพิธีศพให้อย่างสมเกียรติและได้นางอู่แก้วเป็นมเหสี ต่อมานางง้อมให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง ตั้งชื่อว่า ท้าวฮุ่ง  ทางฝ่ายหูนบังและคำบ่าหลานชายของท้าวกว่าได้รู้ข่าวจึงไปกราบทูลพระยาฟ้าฮ่วนให้ช่วยรบ พระยาเจืองได้ไปรบกับพระยาฟ้าฮ่วนได้รับชัยชนะและได้นางคำหยาดเป็นมเหสี พระยาฟ้าฮ่วนจึงได้ปรึกษากับเสนา ไปทูลเชิญพระยาแถนลงมาช่วยรบกับพระยาเจือง พระยาเจืองรบกับแถนและได้ตายบนคอช้าง เมื่อเป็นวิญญาณจึงได้กลับเมืองเชียงเคือและนำพาวิญญานภรรยาทั้งสี่พร้อมวิญญานพลทหารขึ้นไปรบกับแถนอยู่บนสวรรค์ ทำให้เมืองสวรรค์วุ่นวายพระอินทร์จึงได้มาเชิญพระยาเจืองไปเป็นพระยายมที่เมืองจาตุมพร้อมภรรยาทั้งสี่ ส่วนท้าวฮุ่งได้เสวยราชย์แทนบิดา ก็มีอำนาจไปทั่วแผ่กระจายไปทั่วทุกทิศ

ที่มาและความสำคัญ
    วรรณกรรมเรื่องท้าวยี่บาเจือง ถือเป็นวรรณกรรมประเภทตำนานประวัติศาสตร์ ซึ่งได้บันทึกขนบธรรมเนียมประเพณี แนวความคิด ค่านิยม ความเชื่อ ปรัชญาชีวิตของชนชาวอีสาน มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีเป็นอย่างมาก ผู้แต่ง ระยะเวลาที่แต่ง  หรือความเกี่ยวพันธ์ของชนชาติต่างๆที่ปรากฏยังหาข้อยุติไม่ได้
-ต้นฉบับ
ปริวรรตครั้งนี้ได้ต้นฉบับมาจาก วัดโพธิ์ศรี อำเภอท่าลี่  จังหวัดเลย
-ผู้ปริวรรต
                นายดนุพล ไชยสินธุ์ , นายทองสุข  จารุเมธีชน 
-ปีที่พิมพ์
ปริวรรตครั้งแรกและพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓   ครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ 

                                       
                                        บทที่ ๒
                               วิเคราะห์เนื้อเรื่อง

๑.ชื่อเรื่อง
นิทานเรื่องท้าวยี่บาเจือง ตั้งชื่อมาจากตัวละครหลักที่ชื่อว่าท้าวเจือง ซึ่งก่อนที่ท้าวเจืองจะมาเกิดเป็นมนุษย์นั้นมีชื่อเดิมว่าท้าวยี่
๒.แก่นเรื่อง
ความกล้าหาญ 
๓.โครงเรื่อง
       การเปิดเรื่อง
   กล่าวถึงดินแดนชมพูทวีปที่มีเมืองใหญ่ที่ชื่อนาคอง ที่มีความอุดมสมบูรณ์และประชาราษฎรมีความสงบสุข
        การดำเนินเรื่อง
-พระยาจอมซึ่งปกครองเมืองนาคองต้องการมีพระโอรสจึงได้บวงสรวงย่าง่ามให้ไปขอบุตรจากพระยาแถน
-พระยาแถนจึงยินดีประทานบุตร และให้ท้าวยี่ลงไปเกิดเป็นโอรสของพระยาจอมธรรม ท้าวยี่มาเกิดที่เมืองมนุษย์ พระยาจอมได้ตั้งชื่อว่าท้าวเจือง
ปม
-ท้าวเจืองอายุได้เจ็ดขวบ พระยาจอมก็ประชวรด้วยโรคชราจึงมอบบ้านเมืองให้ท้าวเจืองปกครอง และขอนางง้อมมาเป็นภรรยา
-ท้าวเจืองยกพลทหารไปช่วยเมืองเงินยางรบกับท้าวกว่า ได้รับชัยชนะเจ้าเมืองจึงยกลูกสาวคือนางอั้วค่าให้
-ต่อมานางกว่าซึ่งเป็นภรรยาท้าวกว่า จึงยกพลทหารไปรบกับพระยาเจืองแต่นางกว่าถูกดาบฟันตกจากหลังช้างสิ้นใจตาย ท้าวเจืองจึงจักพิธีศพให้นางกว่าอย่างสมเกียรติ ซึ่งต่อมานางง้อมได้มีบุตรชื่อท้าวฮุ่ง
-พระยาเจืองรบกับพระยาฟ้าฮ่วน และได้นางคำหยาดเป็นภรรยา ซึ่งเป็นลูกของพระยาฟ้าฮ่วน
ปมสูงสุด
-พระยาเจืองรบกับพระยาแถนทำให้พระยาเจืองสิ้นพระชนม์วิญญานพระยาเจืองไปรบกับพระยาถนบนสวรรค์ทำให้เกิดความวุ่นวายจนต้อง
คลายปม
พระอินทร์ลงมาห้ามและได้เชิญให้พระยาเจืองไปเป็นพระยายมที่เมืองจาตุมพร้อมภรรยาทั้งสี่
        ปิดเรื่อง
จบด้วยการเล่าถึงท้าวฮุ่งซึ่งเป็นลูกพระยาเจืองได้ครองราชย์เมืองเชียงเคือและยกพลเข้าไปครองเมืองฟ้าฮ่วน มีอำนาจแผ่กระจายไปทั่วแผ่นดิน
๔.ตัวละคร
        -ตัวละครหลัก
ท้าวยี่,ท้าวเจือง : ชาติก่อนเป็นโอรสของพระยาแถนซึ่งมีนามว่าท้าวยี่ เมื่อเกิดเมืองมนุษย์เป็นโอรสของพระยาจอมธรรมกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองนาคองได้นามว่าท้าวเจือง เป็นผู้ที่มีบุญวาสนามาก บุคลิกเป็นคนกล้าหาญสามารถปราบศัตรูได้ทุกทิศทาง เป็นพ่อของท้าวฮุ่ง
นางง้อม: ชาติก่อนเป็นนางฟ้าผู้มีรูปงาม ได้ลงมาเกิดเมืองมนุษย์พร้อมท้าวยี่ ชาติมนุษย์เป็นลูกสาวของนางเม็งมเหสีเมืองเชียงเคือ เป็นพระมเหสีคนแรกของพระยาเจืองและเป็นแม่ของท้าวฮุ่ง
นางอั้วค่า:ชาติก่อนเป็นนางฟ้าผู้มีรูปงาม ได้ลงมาเกิดเมืองมนุษย์พร้อมท้าวยี่ ชาติมนุษย์เป็นลูกสาวของขุนขิณเจ้าผู้ครองเมืองเงินหยาง เป็นพระมเหสีคนที่สองของพระเจือง
นางอู่แก้ว:ชาติก่อนเป็นนางฟ้าผู้มีรูปงาม ได้ลงมาเกิดเมืองมนุษย์พร้อมท้าวยี่ ชาติมนุษย์เป็นลูกสาวเสนาอำมาตย์เมืองพะกัน เป็นพระมเหสีคนที่สามของพระยาเจือง
นางคำหยาด:ชาติก่อนเป็นนางฟ้าผู้มีรูปงาม ได้ลงมาเกิดเมืองมนุษย์พร้อมท้าวยี่ ชาติมนุษย์เป็นลูกสาวของพระยาฟ้าฮ่วน เป็นพระมเหสีคนที่สี่ของพระยาเจือง
ท้าวฮุ่ง: โอรสของพระยาเจืองและพระมเหสีง้อม เป็นผู้มีรูปงามเป็นที่สนใจคลั่งไคล้ของสาวๆทั่วเมือง และยังเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญไม่แพ้พระบิดา ครองเมืองเชียงเคือ มีอำนาจแผ่กระจายทั่วทุกทิศ
      -ตัวละครรอง
พระยาจอมธรรม: กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองนาคอง เป็นพ่อของพระยาเจือง
พระยาแถน:กษัตริย์ผู้ครองเมืองแถน เป็นพระบิดาของท้าวยี่ก่อนที่จะได้ไปเกิดที่เมืองมนุษย์
ย่าง่าม: ผีประจำเมืองนาคอง
พระอินทร์: ผู้ปกครองเมืองสวรรค์ เป็นผู้ยุติความวุ่นวายของพระยาเจืองกับแถน
ท้าวกว่า: กษัตริย์เมืองแกว
มเหสีท้าวกว่า: พระมเหสีของท้าวกว่ากษัตริย์เมืองแกว ไม่ระบุชื่อ
พระยาฟ้าฮ่วน:พ่อของนางคำหยาดพระมเหสีของพระยาเจือง ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแก่หูนบังและคำบ่า
หูนบัง: หลานชายของท้าวกว่ากษัตริย์เมืองแกว
คำบ่า:หลานชายของท้าวกว่ากษัตริย์เมืองแกว
อ้ายคว่าง:ชาติก่อนเป็นเทว ได้ลงมาเกิดเมืองมนุษย์พร้อมพระยาเจือง ชาติมนุษย์เป็นทหารเอกของพระยาเจือง ผู้ครองเมืองพะกันหลังจากรบชนะกับพระมเหสีของท้าวกว่า

๕.ภาษา
วรรณกรรมท้าวยี่บาเจืองแต่งโดยใช้ภาษาลาวกับภาษาไทยลื้อ 

๖.ฉาก
     -ฉากหลัก
๑.เมืองนาคอง พระยาจอมธรรมเป็นผู้ครองเมือง เป็นเมืองเกิดของพระยาเจืองและได้ครองเมืองต่อจากพ่อ
๒.เมืองเชียงเคือ เป็นเมืองที่พระยาเจืองไปขอนางง้อมมาเป็นมเหสีและท้าวฮุ่งลูกพระยาเจืองเป็นผู้ครองเมืองในเวลาต่อมา
     -ฉากรอง
๑.เมืองเงินยาง ขุนขิณเป็นผู้ครองเมืองและพระยาเจืองไปช่วยเหลือในการสู้รบกับพวกแกว
๒.เมืองพะกัน ท้าวกว่าเป็นผู้ครองเมือง พระยาเจืองรบกับชนะ พวกเสนาอำมาตย์ทูลเชิญให้ไปครองเมือง แต่ได้มอบให้อ้ายคว่างครองเมืองแทน
๓.เมืองพระยาแถน  ย่าง่ามได้ขึ้นไปขอลูกกับพระยาแถนให้พระยาจอมธรรม
๔.สวรรค์  วิญญาณพระยาเจืองกับพลทหารไปรบกับแถนบนสวรรค์



บทที่๓
ความโดนเด่น
ด้านเนื้อหา
       วรรณกรรมเรื่องท้าวยี่บาเจืองถือเป็นวรรณกรรมที่ได้สอดแทรก ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ และปรัชญาชีวิตของชาวอีสาน

ด้านตัวละคร 
         วรรณกรรมท้าวยี่บางเจืองตัวละครเป็นตัวกำหนดให้เรื่องดำเนินไปต่อได้ และกล่าวถึงความกล้าหาญ การมีน้ำใจช่วยเหลือเมืองอื่นในการสู้รบกับศัตรู

ด้านการใช้ภาษา
        ในการแต่งวรรณกรรมท้าวยี่บาเจืองจะใช้ภาษาลาวและภาษาไทยลื้อ โดยแต่งเป็นคำกลอนโบราณที่ดึงดูดความสนใจ  ภาษาสละสลวย

บทที่ ๔
การนำไปประยุกต์ใช้



 ๑.มีการนำเอาชื่อของพระยาเจืองไปตั้งชื่อป็นค่ายทหาร ชื่อค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ต.ท่าวังทอง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา



๒.ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระยาเจืองในค่ายทหารบก  อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา




    


                                        
                                        อินโฟกราฟฟิค(Infogeaphic)